วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 8 การเจรจาต่อรองเพื่อลดปัญหาหรือคลายปมขัดแย้ง

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 8 การเจรจาต่อรองเพื่อลดปัญหาหรือคลายปมขัดแย้ง
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
การเจรจาต่อรอง เชื่อมประสาน เพื่อลดปัญหาหรือคลายปมความขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง เชื่อมประสานเพื่อลดปัญหาหรือคลายปมความขัดแย้ง
     วิธีการหนึ่งที่นิยมอย่างกว้างขวางที่ใช้ในการบริหารความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก็คือ กระบวนการเจรจาต่อรอง (negotiation) โดยถ้ามีวิธีดำเนินการที่ดีกระบวนการเจรจาต่อรองจะนำไปสู่ข้อยุติที่เสริมความร่วมมือต่อกันสูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ชนะและได้ประโยชน์มากขึ้น แต่ในทางกลับกันหากดำเนินการเจรจาต่อรองที่ขาดประสิทธิผลก็จะนำไปสู่การต่อสู้ที่รุนแรงขึ้นเช่นกัน

          ในการเจรจาต่อรองจะประกอบด้วยสองฝ่ายที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งมาหาข้อตกลงร่วมกัน โดยแต่ละฝ่ายจะนำข้อเสนอและแนวคิดของตนมาสู่การถกปัญหาและดำเนินการร่วมกัน มีตัวอย่างการเจรจาต่อรองที่พบเห็นบ่อย ๆ เช่น การเจรจาแก้ความขัดแย้งด้านแรงงาน การเจรจาการค้า การเจรจาต่อรองจับตัวประกัน เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน ผู้บริหารองค์การต้องทำหน้าที่ในการเจรจาต่อรองกับ ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชา ผู้ค้าปลีก และลูกค้าเป็นประจำอยู่ทุกวันเช่นกัน

2.       หลักการเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง เชื่อมประสานเพื่อลดปัญหาหรือคลายปมความขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง
       ตามปกติการเจรจาต่อรองอย่างเป็นทางการจะต้องมีพิธีการและระเบียบวาระ แต่โดยมากมักจะเจรจาต่อรองกันไปตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า ในหลักการแล้ว คู่เจรจาควรเลือกวิธีการในการเจรจา วิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่าพิธีการในการเจรจา (negotiation protocol) ตัวอย่าง เช่น กำหนดให้คู่เจรจาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้จัดทำข้อเสนอ-สนองเบื้องต้น กำหนดให้ใช้ภาษาใดในการเจรจา เป็นต้น
          สำหรับการเจรจาหลายฝ่าย ซึ่งมักจะทำกันในลักษณะเป็นการประชุมเจรจา จำเป็นต้องมีแบบพิธีในการเจรจา ที่เรียกว่า กฎข้อบังคับในการดำเนินการประชุม (rules of procedure) อยู่เสมอ และผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละฝ่ายจะหมุนเวียนกันขึ้นมาเป็นประธานที่ประชุมในการเจรจาต่อรองนั้น ระบบนี้ใช้ในการประชุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัดเสมอ

3.     วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน

หากพิจารณาอย่างผิวเผินความขัดแย้งนี้ เป็นเรื่อง “บุคคล” ระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีและผู้สนับสนุน กับฝ่ายต่อต้าน ถ้าวิเคราะห์แนวนี้ เราก็พอจะมองออกว่า เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีและผู้สนับสนุนกับฝ่ายต่อต้าน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลิกราไปไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ความขัดแย้งนี้ก็จบ และประเทศไทยก็เดินต่อไปได้ตามปกติ
แต่จุดอ่อนการวิเคราะห์แนวนี้ก็คือ ไม่ได้ดูที่ “ต้นเหตุ” ของการได้มาซึ่งอำนาจการเมืองของผู้มีอำนาจเดิม และการใช้อำนาจ (ซึ่งรวมถึงอำนาจตามกฎหมาย อิทธิพลหรืออำนาจในความเป็นจริงและเงิน) ว่ามีฐานมาจากความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและทางสังคมที่ซ่อนตัวอยู่ ความขัดแย้งดังกล่าว มีลักษณะบุคคลของคู่ขัดแย้งอยู่ก็จริง โดยรากฐานสำคัญก็คือความขัดแย้งเชิงโครงสร้างในการจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่ง ระหว่าง “คนมีกับ “คนไม่มี” รวมถึงแนวความคิดและความคาดหวังต่อระบอบประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน
นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2504 มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศโดยเน้นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (import substitution)ซึ่งต้องอาศัยการพึ่งพาเงินทุนมหาศาลจากต่างประเทศ นโยบาย และกฎหมายต่างๆ ที่ออกในช่วงนี้ก็เป็นไปเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ดังกล่าวทั้งสิ้น เช่น กฎหมายส่งเสริมการลงทุน กฎหมายการนิคมอุตสาหกรรม กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ฯลฯ ต่อมายุทธศาสตร์ก็เปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อส่งออก (export oriented) ในแผน 4 และแผน 5 อย่างไรก็ดี การเกษตรกรรมที่เคยเป็นรายได้หลักของประเทศกลับไม่ได้รับความสำคัญ ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตจึงเป็นไปด้วยการขยายพื้นที่ ไม่ใช่ด้วยการเพิ่มผลิตภาพต่อไร่ ทั้งยังไม่มียุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง 
                การที่ระบบเศรษฐกิจไทยก็ยังไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจเสรีที่อาศัยกลไกตลาดเต็มที่ และรัฐยังคงครอบครองทรัพยากรสำคัญไว้และให้สัมปทานแก่เอกชน การเข้าสู่อำนาจการเมืองจึงไม่ได้หมายถึงการมี อำนาจ เท่านั้น แต่หมายถึง โอกาส ทางธุรกิจและเศรษฐกิจที่เกิดจากการมีอำนาจให้สัมปทาน หรืออาจได้รับสัมปทานเสียเอง ซึ่งในหลายกรณีทำให้บุคคลเหล่านี้กลายเป็น ผู้มั่งมี ขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว การทุจริตและการประพฤติมิชอบในรูปแบบต่างๆก็เกิดขึ้นโดยทั่วไป ทั้งระดับการตัดสินใจของรัฐทางการเมือง ทั้งในระบบการเลือกตั้ง 

โครงสร้างที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคมและระบบการพึ่งพิงกันแบบอุปถัมภ์ฝังรากลึกอยู่ในระบบการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475 โดยมีลักษณะสำคัญก็คือสภาพที่นักวิชาการเรียกว่า คนจน ซึ่งต้องพึ่งพิงการอุปถัมภ์และเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็น ฐานเสียง และเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียงข้างมากในสภาและรัฐบาล แต่ คนชั้นกลาง เป็น ฐานนโยบาย เพราะเสียงดังกว่าและมีอำนาจล้มล้างรัฐบาลที่ตนไม่ชอบได้ ในขณะที่ข้าราชการทหารพลเรือนซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจรัฐที่แท้จริง ก็ยังคงแย่งชิงอำนาจทางการเมืองกับพรรคการเมืองและผู้ที่มา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น